วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

♫ Learning Log 1 (outside classroom)

ปริญญาทางการศึกษาในประเทศไทยมี 4 วุฒิ แตกต่างตามต้นกำเนิดของสถาบัน แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อฝึกหัดครูที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาการศึกษาของแผ่นดิน

1. ครุศาสตรบัณฑิต --> โรงเรียนฝึกหัดครูแห่งสยาม
    - พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์พระนครขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศ
    - พ.ศ.2446 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในขณะนั้น ได้สถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก
    - โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตกได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
    - พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์พระนคร และโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยาย้ายไปสังกัดเป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
    - พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ พัฒนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้แผนกคุรุศึกษาเดิมเป็นแผนกวิชาฝึกหัดครู คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    - พ.ศ.2477 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง โดยพัฒนาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระราชวังสนามจันทร์ ที่ตั้งในปี พ.ศ.2461
    - พ.ศ.2484 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง 
    - พ.ศ.2500 แผนกวิชาครุศาสตร์ (ฝึกหัดครู) แยกตั้งเป็นคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    - พ.ศ.2501 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับการพัฒนาเป็นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน
    - พ.ศ.2509 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้รับการพัฒนาเป็นวิทยาลัยครูพระนคร จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
   
    ดังนั้น ทั้งคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นสถาบันฝึกหัดครูที่มีจุดร่ยวมเหมือนกันและเก่าแก่ที่สุดของประเทศ สถาบันเหล่านี้จึงใช้วุฒิการศึกษาเป็น ครุศาสตรบัณฑิต


2. การศึกษาบัณฑิต --> วิทยาลัยวิชาการศึกษาของประเทศไทย    - พ.ศ.2492 กระทรวงศึกษาธิการสถาปนา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง  ณ ถนนประสานมิตร กรุงเทพมหานคร 
    - พ.ศ.2497 โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง พัฒนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปี พ.ศ.2517
    - พ.ศ.2498 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตบางแสน และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาในปี พ.ศ.2533
    - พ.ศ.2510 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตพิษณุโลก และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.2533
    - พ.ศ.2511 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปี พ.ศ.2537
    - พ.ศ.2511 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตสงขลา และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณในปี พ.ศ.2539

ดังนั้น ทุกสถาบันที่มีจุดร่วมมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง จึงมีวุฒิการศึกษาเป็น การศึกษาบัณฑิต


3. ศึกษาศาสตรบัณฑิต --> มหาวิทยาลัยของรัฐตามภูมิภาค
    - พ.ศ.2511 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคเหนือ ซึ่งมีโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 โดยได้รับการช่วยเหลือจาก UNESCO
    - พ.ศ.2511 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคใต้
    - พ.ศ.2512 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันฝึกหัดครูในกรุงเทพมหานคร
    - พ.ศ.2513 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีโครงการตั้งปี พ.ศ.2511
    - พ.ศ.2513 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคกลาง

    สถาบันเหล่านี้เป็นแหล่งฝึกหัดครูจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาคควบคู่กับวิทยาลัยวิชาการศึกษาและวิทยาลัยครู จึงมีวุฒิการศึกษาเป็น ศึกษาศาสตร์บัณฑิต


4. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต --> สถาบันฝึกหัดครูทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
    - พ.ศ.2517 สถาปนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งมีรากฐานจากคณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูงของวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ในปี พ.ศ.2509
    - พ.ศ.2517 สถาปนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งมีรากฐานจากแผนกวิชาหนึ่งของวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ
    - พ.ศ.2520 สถาปนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    ดังนั้นสถาบันทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่มีการฝึกหัดครู จึงมีวุฒิการศึกษาเป็น ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต

http://www.dek-d.com/board/view/2120255/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น